เยอรมัน ถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าสำหรับสินค้าไทยอันดับต้นๆ ของสหภาพยุโรป ด้วยมูลค่าเศรษฐกิจที่สูง ทำให้เยอรมันเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายการส่งออกของผู้ประกอบการในประเทศ ซึ่งการจะส่งของไปต่างประเทศ แน่นอนว่าจะต้องมีเรื่องยิบย่อยแตกต่างจากการส่งของในไทย แต่การส่งของไปเยอรมัน จะมีความแตกต่าง หรือข้อที่ควรรู้อะไรบ้าง ในบทความนี้ เราจะพาทุกคนไปดู 5 เรื่องที่ควรรู้ ก่อนส่งของไปเยอรมัน เพื่อการส่งออกที่ราบรื่น รวดเร็ว และไร้ปัญหาตลอดจนถึงปลายทาง
ก่อนส่งของไปเยอรมัน ต้องรู้เรื่องเหล่านี้
1. เข้าใจเรื่องภาษีในการนำเข้าสินค้า
ไม่ว่าจะเป็นการส่งพัสดุไปเยอรมัน หรือการขนส่งต่างประเทศไปประเทศไหนๆ เรื่องภาษีก็เป็นสิ่งแรกๆ ที่ควรให้ความสำคัญ โดยการส่งของไปเยอรมันนั้นจะต้องถูกคิดภาษีอากร ภาษีนำเข้าส่วนใหญ่ในอัตราประมาณ 0-19% แต่สำหรับสินค้าบางประเภท จากประเทศใดหนึ่งประเทศหนึ่งที่รัฐบาลเยอรมันกำหนดไว้ ก็อาจจะต้องเสียภาษีอากรมากถึง 48.5% เลย และนอกจากภาษีอากรแล้ว ก็จะมีภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่จะถูกเรียกเก็บที่ประมาณ 19%
แต่ใช่ว่าสินค้าทุกชนิดที่ส่งของไปเยอรมันจะโดนภาษีทั้งหมด เพราะสินค้าบางประเภท อย่างเช่น หนังสือ นิตยสาร จะได้ลดหย่อนภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือประมาณ 7% ส่วนทางด้านภาษีอากร จะเป็นหลักเกณฑ์ De Minimis หรือการยกเว้นภาษีให้กับสินค้าบางประเภทที่มีมูลค่าไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด โดยในประเทศเยอรมันจะมีเกณฑ์ De Minimis ที่ยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าที่มีมูลค่าไม่เกิน 150 ยูโร (ประมาณ 5,500 บาท) และยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าที่มีมูลค่าไม่เกิน 22 ยูโร (ประมาณ 770 บาท)
2. ของที่ห้ามส่งไปเยอรมัน
การส่งของไปเยอรมันนั้น นอกจากเรื่องภาษีที่จะต้องใส่ใจแล้ว การศึกษาข้อกำหนดว่าการส่งของไปเยอรมันห้ามส่งอะไรบ้าง และอะไรส่งได้บ้าง เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน เพราะหากสินค้าของเราเป็นหนึ่งในของที่ห้ามส่งไปเยอรมันขึ้นมา อาจจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นและเป็นผลเสียต่อผู้ส่งในภายหลัง
2.1 ของที่ห้ามส่งไปเยอรมัน มีอะไรบ้าง
-
ยาและสิ่งที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์
-
สิ่งของละเมิดลิขสิทธิ์หรือของลอกเลียนแบบ
-
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสินค้าที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
-
วัตถุไวไฟ วัตถุอันตรายทุกชนิด
-
อาวุธและของมีคมต่างๆ
-
ของที่มีมูลค่าสูง เช่น ทองคำ อัญมณี
-
เงิน หรือสิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนแทนเงิน
-
พืชพันธุ์ เมล็ดพันธุ์พืช พันธุ์ไม้ต้องห้าม
-
สื่อการพนันต่างๆ
-
สื่อลามกอนาจารทุกชนิด
-
วัตถุทางชีวภาพ เช่น ตัวอย่างเชื้อไวรัส ตัวอย่างน้ำลาย
3. จัดเตรียมเอกสารและสินค้าให้พร้อม
เมื่อประเมินแล้วว่าสินค้าหรือของที่จะส่งไปเยอรมันไม่มีเงื่อนไขอะไรที่ต้องกังวล ผู้ส่งต้องเริ่มจัดการเอกสารต่างๆ ประกอบการส่งสินค้า และเริ่มจัดการบรรจุหีบห่อสินค้าให้พร้อมส่ง ซึ่งเอกสารที่ใช้ในการส่งของไปเยอรมันหลักๆ จะมีอยู่ด้วยกันดังนี้
3.1 เอกสารที่ใช้ในการส่งของไปเยอรมัน มีอะไรบ้าง
3.1.1 ใบแสดงรายการสินค้า (INVOICE)
ใบ Invoice คือใบแสดงรายการสินค้าสำหรับการส่งออกไปต่างประเทศ โดยจะมีข้อมูลรายละเอียดสินค้าต่างๆ ทั้งจำนวน, มูลค่าสินค้า, ผู้รับปลายทาง, ผู้ส่งสินค้า, เงื่อนไขการสั่งซื้อต่างๆ โดยที่ใบ Invoice จะถูกใช้ในการเรียกเก็บเงินกับผู้สั่งซื้อ และนำไปแสดงต่อศุลกากรของประเทศปลายทาง เพื่อพิจารณาและอนุญาตให้สินค้านั้นๆ เข้าสู่ประเทศ
3.1.2 ใบตราส่งสินค้า Bill of Lading (B/L)
อีกหนึ่งเอกสารที่จำเป็น ก็คือ ใบตราส่งสินค้า ที่จะแบ่งย่อยไปตามรูปแบบการขนส่ง เช่น ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (AIR WAY BILL) ใบตราส่งสินค้าทางทะเล (BILL OF LADING) โดยในเอกสารจะระบุข้อมูลของพัสดุและการขนส่ง เพื่อให้พนักงานขนส่งและเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้ว่าสินค้าจะเดินทางจากที่ไหน ไปที่ไหน น้ำหนักและปริมาณเท่าไหร่
3.1.3 ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการส่งออก (License)
ในกรณีที่สินค้าบางประเภทต้องมีการขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการส่งออก จะต้องมีใบอนุญาตแนบมากับพัสดุเพื่อยืนยันการอนุญาตจากหน่วยงาน และสามารถส่งออกได้อย่างถูกต้อง เช่นสินค้าเกษตร หรือสินค้าควบคุมบางชนิด เป็นต้น
3.1.4 ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin, COO)
หรือหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เป็นหนังสือที่กรมการค้าต่างประเทศ (หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในประเทศ) ออกเอกสารนี้ให้เพื่อระบุว่าสินค้าชิ้นดังกล่าวมีถิ่นกำเนิดในประเทศนั้นๆ โดยส่วนมากจะใช้เพื่อรับสิทธิ์ในการลดภาษีอากร จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
3.1.5 เอกสารข้อมูลความปลอดภัยของวัสดุ (Material Safety Data Sheet, MSDS)
ในกรณีส่งสินค้าหรือพัสดุไปประเทศเยอรมัน เป็นสินค้าที่มีความเสี่ยงหรืออันตรายแต่ยังสามารถส่งออกได้ จะต้องแนบเอกสาร MSDS มาด้วย เพื่อจำแนกความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับสินค้า และแนวทางในการจัดการปัญหา
3.1.6 เอกสารอื่นๆ
อย่างเช่น แคตตาล็อก, เอกสาร FDA, และแบบฟอร์มอื่นๆ ที่จำเป็น
4. เข้าใจระบบ IOSS
Import One-Stop Shop หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า IOSS คือระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ประกอบการที่จะขายสินค้าภายในเขตสหภาพยุโรป โดยผู้ขายสินค้าจะต้องลงทะเบียน IOSS ผ่านตัวแทน (ยกเว้นว่าผู้ขายมีสาขาในยุโรป) โดย IOSS จะทำหน้าที่เรียกเก็บชำระค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ผ่านหมายเลข IOSS ของผู้ประกอบการ โดยเมื่อมีการส่งสินค้ามายังยุโรป ผู้ขายจะต้องแจ้งหมายเลข IOSS แก่ผู้ขนส่งหรือตัวแทนเพื่อดำเนินพิธีการศุลกากรทำการชำระภาษีต่อไป

5. เลือกบริการส่งพัสดุไปเยอรมันที่เหมาะสม
การเลือกใช้บริการส่งพัสดุไปเยอรมันนั้น เป็นอีกหนึ่งข้อที่ควรใส่ใจ เพราะการเลือกบริการที่เหมาะสม ทำให้สินค้าของเราส่งถึงผู้รับได้อย่างถูกต้อง ตรงเวลา และคุ้มค่าใช้จ่าย ส่วนการส่งพัสดุไปเยอรมัน กี่วันถึงนั้น ขึ้นอยู่กับบริการที่ใช้ ซึ่งมีตั้งแต่ 3-5 วันทำการ ไปจนถึง 7-20 วันทำการ ส่วนค่าใช้จ่ายในการส่งของไปเยอรมัน ก็จะขึ้นอยู่กับบริการที่เลือกไป รวมถึงระยะทาง ขนาดและประเภทของวัสดุ ซึ่งจะมีตั้งแต่หลักร้อยบาท ไปจนถึงหลัก 1,000 บาทขึ้นไป
5.1 ส่งของไปเยอรมัน DHL
การเลือกส่งของไปเยอรมันกับ DHL เป็นตัวเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการส่งของไปเยอรมันด้วยความรวดเร็ว ด้วยชื่อเสียงด้านการขนส่งที่ครอบคลุมกว่า 220 ประเทศ ทำให้ DHL ได้รับความเชื่อถือจากหลายๆ องค์กร
-
จุดเด่น
-
จัดส่งรวดเร็ว เหมาะกับพัสดุเร่งด่วน
-
มีบริการพิเศษ สำหรับการขนส่งเอกสาร หรือพัสดุขนาดใหญ่
-
ค่าส่ง
-
ค่าส่งต่างประเทศของ DHL เริ่มต้นที่ประมาณ 1,200 บาท/กก. ขึ้นอยู่สถานที่และรูปแบบการส่ง
5.2 ส่งของไปเยอรมัน ไปรษณีย์ไทย
การเลือกส่งของไปเยอรมันกับ ไปรษณีย์ไทย ก็เป็นอีกตัวเลือกที่หลายๆ คนน่าจะคุ้นเคยกันดี เพราะเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการที่ครอบคลุมหลายประเทศ และราคาที่เข้าถึงง่าย
-
จุดเด่น
-
ราคาย่อมเยา
-
มีบริการพิเศษ สำหรับพัสดุขนาดเล็ก
-
ค่าส่ง
-
ค่าส่งต่างประเทศของ ไปรษณีย์ไทย เริ่มต้นที่ประมาณ 350 บาท/กก. ขึ้นอยู่สถานที่และรูปแบบการส่ง
5.3 ส่งของไปเยอรมันกับ FBA Easy
FBA Easy เป็นผู้ให้บริการในการขนส่งต่างประเทศ ด้วยราคาที่คุ้มค่าและบริการที่ครอบคลุม เหมาะสำหรับผู้ประกอบการขนาดย่อมและบุคคลทั่วไปที่ต้องการส่งของไปยังประเทศเยอรมันและประเทศอื่นๆ
-
จุดเด่น
-
ราคาค่าส่งต่างประเทศสุดคุ้มค่า
-
มีบริการหลากหลาย สำหรับสินค้าแต่ละประเภท
-
มีบริการติดตามพัสดุแบบ Real-Time
-
มีบริการพิเศษในการจัดส่งสินค้าไปยังคลัง Amazon ในประเทศเยอรมัน, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา และอังกฤษ
-
ค่าส่ง
-
ค่าส่งต่างประเทศของ FBA Easy เริ่มต้นที่ประมาณ 190 พร้อมกับบริการส่งของที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการส่งแบบด่วน, แบบประหยัด, ส่งพัสดุขนาดเล็ก และการส่งทางเรือ
ส่งของไปต่างประเทศกับ FBA Easy สะดวกกว่าที่เคย
FBA Easy คือ แพลตฟอร์มบริการส่งของไปต่างประเทศ ตั้งแต่การส่งเอกสาร ส่งพัสดุ และจัดส่งสินค้าระหว่างประเทศครอบคลุมทั่วโลก ไม่ว่าจะส่งของไปสิงคโปร์ ส่งของไปฮ่องกง ส่งของไปอเมริกา ส่งของไปจีน ยุโรป และเอเชีย พร้อมทางเลือกการขนส่งที่หลากหลายทั้งทางบก ทางอากาศ และทางทะเล ผ่านความร่วมมือกับบริษัทขนส่งชั้นนำกว่า 10 ราย รวมถึงมีบริการ Amazon FBA การจัดส่งสินค้าไปยังคลังสินค้าของ Amazon ในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ และเยอรมัน FBA Easy ตอบโจทย์ทุกความต้องการเรื่องส่งของไปต่างประเทศ
ติดต่อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Line: @kartonexpress
Email: admin@karton.express
Facebook: https://www.facebook.com/fbaeasy